ประวัติความเป็นมา

การจัดทำทะเบียนมะเร็งภาคเหนือของประเทศไทย

การจัดทำทะเบียนมะเร็งภาคเหนือของประเทศไทย โรงพยาบาลมะเร็งลำปางเป็นหนึ่งในเจ็ดโรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาคของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปางซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน งานทะเบียนมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง สังกัดกรมการแพทย์ มีภาระกิจหลักในการสนับสนุนการจัดทำทะเบียนมะเร็งในเขตภาคเหนือ โดยมีเป้าหมาย พัฒนาเครือข่ายทะเบียนมะเร็งระดับประชากรและจัดทำฐานข้อมูลระดับประชากรให้ครอบคลุมเขตสุขภาพที่ 1
ข้อมูลทะเบียนมะเร็งมีประโยชน์ในการนำไปสู่การศึกษาวิจัยทางด้านระบาดวิทยาโรคมะเร็ง และการวิจัยทางคลินิกในภาคเหนือตอนบน ทั้งนี้การจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรในเขตพื้นที่ภาคเหนือเริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2528 โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นับเป็นการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เริ่มมีการก่อตั้งโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง และมีหน่วยงานทะเบียนมะเร็งรับผิดชอบในการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งในจังหวัดลำปาง
โรงพยาบาลมะเร็งลำปางเล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำทะเบียนมะเร็งให้ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (หรือเขตสุขภาพที่ 1) โดยเริ่มพัฒนาเครือข่ายทะเบียนมะเร็งระดับประชากรในภาคเหนือและรวบรวมข้อมูลของแค่ละจังหวัด เริ่มจากจังหวัดลำปางในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ขยายเครือข่ายทะเบียนมะเร็งในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดลำพูน แพร่ เชียงราย พะเยา น่าน และแม่ฮ่องสอน ตามลำดับ ทำให้ในปี พ.ศ 2562 โรงพยาบาลมะเร็งลำปางมีฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครอบคลุมร้อยละ 100 ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เขตสุขภาพที่ 1) และมีความครอบคลุมมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ จึงทำให้สามารถมีข้อมูลครบถ้วน ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลโรคมะเร็งในเขตภาคเหนือตอนบนจึงนับเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายทะเบียนมะเร็งภาคเหนือมาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง

การจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากร

การจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรในภาคเหนือของประเทศไทย

การจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรในภาคเหนือของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ เชียงราย พะเยา น่าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากรที่ครอบคลุมร้อยละ 100 ของภาคเหนือตอนบน (เขตสุขภาพที่ 1)
พ.ศ. 2528 – มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรแห่งแร่งของประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มจากการสร้างฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อุบัติการณ์และอัตราตายของโรคมะเร็งในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2526 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2530 ซึ่งเป็นโครงการวิจัยโรคมะเร็ง และได้รับการสนับสนุนจากคณะแพทย์จีน และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยรายงานฉบับแรกที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2532 (Matin, Lorvidhaya, & Changwaiwit, 1989) และยังรวมอยู่ในหนังสือ “Cancer Incidence in Five Continents Vol. VI” (Parkin, D. M. et al., 1992).
พ.ศ. 2538 – มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกในจังหวัดลำปาง ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2535 ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในระดับจังหวัด (Srivatanakul, Martin, & Ratanavikrant, 1994) ก่อนที่จะมีการจัดตั้งโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ทั้งนี้รายงานฉบับแรกจากงานทะเบียนมะเร็ง คือ “Cancer Incidence in Lampang Volume II, 1993-1997” (Pongnikorn, S., Matin, & Patel, 2002) ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือ “Cancer in Thailand Vol. III” (Sriplung et al., 2003) และยังรวมอยู่ในหนังสือ “Cancer Incidence in Five Continent Vol. VIII” (Parkin, D.M. et al., 2002)
พ.ศ. 2546 – มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดลำพูนและพิษณุโลก ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยงานทะเบียนมะเร็งของศูนย์มะเร็งลำปาง และมีการตีพิมพ์ผลงานทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกของจังหวัดลำพูนและพิษณุโลก พ.ศ. 2541-2545 ดำเนินการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2549 (Pongnikorn, S. et al., 2006) อย่างไรก็ตามงานทะเบียนมะเร็งของจังหวัดพิษณุโลกเป็นงานทะเบียนมะเร็งเดียวในเขตสุขภาพที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
พ.ศ. 2554 -- มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดแพร่ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยงานทะเบียนมะเร็งของศูนย์มะเร็งลำปาง และมีการตีพิมพ์ผลงานทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกของจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2550-2552 ดำเนินการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2554 (Lalitwongsa et al., 2011)
พ.ศ. 2556 -- มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยงานทะเบียนมะเร็งของศูนย์มะเร็งลำปาง และมีการตีพิมพ์ผลงานทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกของจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2551-2553 ดำเนินการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2556 (LPCH Cancer Registry, 2013)
พ.ศ. 2557 -- มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดพะเยา ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยงานทะเบียนมะเร็งของศูนย์มะเร็งลำปาง และมีการตีพิมพ์ผลงานทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกของจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2553-2555 ดำเนินการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 (Pongnikorn, D. et al., 2015)
พ.ศ. 2558 -- มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดน่าน ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน และมีการตีพิมพ์ผลงานทะเบียนมะเร็งระดับประชากรครั้งแรกของจังหวัดน่าน พ.ศ. 2555-2557 ดำเนินการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 (Nan Provincial Public Health office, 2015)
พ.ศ. 2560 -- มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับประชากรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยงานทะเบียนมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

Reference

(Lalitwongsa et al., 2011)
Lalitwongsa, S., Aueaphisitwong, S., Ponglaohapan, T., Daoprasert, K., & Tiemsan, T. (2011). Cancer Incidence in Phrae, Thailand, 2007-2009. Lampang Cancer Hospital: Lampang, Thailand.
(LPCH Cancer Registry, 2013)
LPCH Cancer Registry. (2013). Cancer Incidence in Chiang Rai, Thailand, 2008-2010. Lampang Cancer Hospital: Lampang, Thailand.
(Matin et al., 1989)
Matin, N., Lorvidhaya, V., & Changwaiwit, W. (1989). Cancer Incidence and Mortality 1983-1987 in Chiang Mai Province. Chiang Mai, Thailand: Chiang Mai University Hospital.
(Nan Provincial Public Health office, 2015)
Nan Provincial Public Health office. (2015). Cancer incidence in Nan, Thailand, 2012-2014: Nan, Thailand.
(Parkin et al., 1992)
Parkin, D. M., Muir, C. S., Whelan, S. L., Gao, Y. T., Ferlay, J., & Powell, J. (1992). Cancer incidence in five continents. Volume VI (Vol. 4). Lyon, France: International Agency for Research on Cancer.
(Parkin et al., 2002)
Parkin, D. M., Whelan, S. L., Ferlay, J., Teppo, L., & Thomas, D. B. (2002). Cancer incidence in five continents. Volume VIII (Vol. 4). Lyon, France: International Agency for Research on Cancer.
(Pongnikorn et al., 2015)
Pongnikorn, D., Daoprasert, K., Lalitwongsa, S., Suriyachai, P., & Hemwuttipan, N. (2015). Cancer incidence in Phayao, Thailand, 2010-2012. Lampang Cancer Hospital: Lampang, Thailand.
(Pongnikorn et al., 2002)
Pongnikorn, S., Matin, N., & Patel, N. (2002). Cancer Incidence in Lampang Volume II, 1993-1997. Lampang, Thailand: Lampang Regional Cancer Center.
(Pongnikorn et al., 2006)
Pongnikorn, S., Matin, N., Raunroadroong, N., Kamoltbum, T., Boonyawattana, V., Sangnark, B., & Daoprasert, K. (2006). Cancer Incidence in Phitsanulok, Thailand. Lampang, Thailand.
(Sriplung et al., 2003)
Sriplung, H., Attasara, P., Patel, N., & Martin, N. (2003). Cancer in Thailand Vol. III, 1995-1997. Bangkok, Thailand: National Cancer Institute.
(Srivatanakul et al., 1994)
Srivatanakul, P., Martin, N., & Ratanavikrant, R. (1994). Cancer in Lampang 1988-1992. Bangkok, Thailand.

กระบวนการ

กระบวนการรวบรวมข้อมูลทะเบียนมะเร็งในภาคเหนือ

แหล่งที่มาของข้อมูล

ในจังหวัดลำปาง ลำพูน และพิษณุโลก ข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยมะเร็งถูกเก็บรวบรวมโดยวิธีแฝง (passive method) ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานข้อมูลจากแหล่งต่าง ได้แก้ โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลค่าย โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดเหล่านี้ นอกจากนี้เรายังรวบรวมข้อมูลจากหน่วยทะเบียนมะเร็งของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และสถาบันมะเร็งแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดเชียงใหม่เจ้าหน้าที่ของงานทะเบียนเชียงใหม่ได้รวบรวมข้อมูลมะเร็งอย่างจริงจัง และติดตามสถานะสุดท้ายจากใบมรณบัตร ทั้งนี้สาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดที่ปรากฏในใบมรณบัตรจะได้รับจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข

กระบวนการทำทะเบียนมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จะถูกรวบรวมจากแผนกผู้ป่วยนอก หน่วยผู้ป่วยหน่วยรังสีรักษา หน่วยผ่าตัด หน่วยเซลล์วิทยา หน่วยโลหิตวิทยา หน่วยเวชระเบียน หน่วยพยาธิวิทยา และหน่วยบริการชันสูตรพลิกศพ ข้อมูลที่รวบรวมประกอบด้วยรายละเอียดทางประชากรสำหรับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละรายซึ่งประกอบด้วย: หมายเลขทะเบียน (registry number) ชื่อ-สกุล (names) ที่อยู่ (address) วันเดือนปีเกิด (birth date) อายุ (age) เพศ (sex) วันที่วินิจฉัย (diagnosis date) ตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง (site, topography) ผลพยาธิวิทยาของมะเร็ง (morphology) ระยะของโรค (stage) ขอบเขตการแพร่กระจายของโรค (extension) วิธีการวินิจฉัย (method of diagnosis) การรักษาโรค (treatment) วันที่ติดต่อล่าสุด (last contact date) และสถานะปัจจุบัน (มีชีวิตหรือเสียชีวิต) (status)
ตำแหน่งหลักที่เกิดโรคและผลพยาธิวิทยาของมะเร็ง ได้รับการเข้ารหัสตาม ICD-O เวอร์ชั่น 3 (Fritz et al., 2000) การทำทะเบียนหลักหลายรายการเป็นไปตามเกณฑ์ IARC / IACR นอกจากนี้ยังมีการทำทะเบียนมะเร็งหลักลำดับที่สองโดยจะมีการให้หมายเลขทะเบียนใหม่สำหรับมะเร็งหลักใหม่ แบบฟอร์มการรวบรวมข้อมูลได้รับการตรวจสอบและป้อนลงในฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม CanReg5 (IARC, 2008) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลฟรีที่ IARC จัดทำขึ้น กรณีของมะเร็งในแหล่งกำเนิดได้รับการขึ้นทะเบียน แต่ไม่รวมอยู่ในการวิเคราะห์อุบัติการณ์ของมะเร็ง

ประเภทของการวินิจฉัย

ประเภทของการวินิจฉัยแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ : การยืนยันทางพยาธิวิทยาและไม่มีการยืนยันทางพยาธิวิทยา ด้านล่างนี้เป็นรายการตามลำดับการเพิ่มความถูกต้องโดยประมาณ ไม่มีการยืนยันทางพยาธิวิทยา: 1. ใบมรณบัตร 2. ซักประวัติปและตรวจร่างกาย 3. การตรวจทางคลินิก (รวมถึง X-ray อัลตราซาวนด์ CT scan เป็นต้น) 4. การผ่าตัด / การชันสูตรพลิกศพโดยไม่มีผลเนื้อเยื่อวิทยา และ 5. การทดสอบเฉพาะทางภูมิคุ้มกันและ / หรือทางชีวเคมี การยืนยันทางพยาธิวิทยา: 1. เซลล์วิทยาหรือโลหิตวิทยา 2. การตรวจชิ้นเนื้อในตำแหน่งที่แพร่กระจาย 3. การตรวจชิ้นเนื้อปฐมภูมิ และ 4. การชันสูตรพลิกศพด้วยเนื้อเยื่อวิทยา

ขอบเขตการแพร่กระจายของโรค

ขอบเขตการแพร่กระจายของโรคมะเร็งจะถูกจัดเป็นรายการต่อไปนี้: 1. In situ: มีลักษณะของมะเร็งโดยสมบูรณ์ ยกเว้นเพียงเนื้อมะเร็ง 2. Localized: เนื้อมะเร็งที่เห็นมีลักษณะลุกลาม แต่ไม่เกินออกนนอกอวัยวะ 3. Direct extension: เนื้อมะเร็งมีการลุกลามไปยังขอบนอกและเนื้อเยื่อข้างเคียง 4. Regional nodes metastasis: มะเร็งลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง 5. Distant metastasis: มะเร็งกระจายออกไปยังอวัยวะอื่น ๆ 6. Not applicable: กรณีที่ไม่สามารถประเมินสภาวะต่อมน้ำเหลืองได้ 7. Unknown: ไม่ทราบ

ระยะของโรคมะเร็ง

การแสดงระยะของมะเร็งได้รับการพิจารณาตามคู่มือการจัดระยะมะเร็งของ American Joint Committee on Cancer (AJCC) (Edge et al., 2015)

Reference

(Edge et al., 2015)
Edge, S. B., Byrd, D. R., Compton, C. C., Fritz, A. G., Greene, F. L., & Andy Trotti, I. (2015). AJCC Cancer Staging Manual (7th ed.). New York: Springer.
(Fritz et al., 2000)
Fritz, A., Percy, C., Jack, A., Shanmugaratnam, K., Sobin, L. H., Parkin, D. M., & Whelan, S. L. (2000). International Classification of Diseases for Oncology (3rd ed.). Geneva: World Health Organization.
(IARC, 2008)
IARC. (2008). CanReg5: Computer Software for Cancer Registries. Lyon: International Agency for Research on Cancer.
(Nan Provincial Public Health office, 2015)
Nan Provincial Public Health office. (2015). Cancer incidence in Nan, Thailand, 2012-2014: Nan, Thailand.
(Parkin et al., 1992)
Parkin, D. M., Muir, C. S., Whelan, S. L., Gao, Y. T., Ferlay, J., & Powell, J. (1992). Cancer incidence in five continents. Volume VI (Vol. 4). Lyon, France: International Agency for Research on Cancer.
(Parkin et al., 2002)
Parkin, D. M., Whelan, S. L., Ferlay, J., Teppo, L., & Thomas, D. B. (2002). Cancer incidence in five continents. Volume VIII (Vol. 4). Lyon, France: International Agency for Research on Cancer.
(Pongnikorn et al., 2015)
Pongnikorn, D., Daoprasert, K., Lalitwongsa, S., Suriyachai, P., & Hemwuttipan, N. (2015). Cancer incidence in Phayao, Thailand, 2010-2012. Lampang Cancer Hospital: Lampang, Thailand.
(Pongnikorn et al., 2002)
Pongnikorn, S., Matin, N., & Patel, N. (2002). Cancer Incidence in Lampang Volume II, 1993-1997. Lampang, Thailand: Lampang Regional Cancer Center.
(Pongnikorn et al., 2006)
Pongnikorn, S., Matin, N., Raunroadroong, N., Kamoltbum, T., Boonyawattana, V., Sangnark, B., & Daoprasert, K. (2006). Cancer Incidence in Phitsanulok, Thailand. Lampang, Thailand.
(Sriplung et al., 2003)
Sriplung, H., Attasara, P., Patel, N., & Martin, N. (2003). Cancer in Thailand Vol. III, 1995-1997. Bangkok, Thailand: National Cancer Institute.
(Srivatanakul et al., 1994)
Srivatanakul, P., Martin, N., & Ratanavikrant, R. (1994). Cancer in Lampang 1988-1992. Bangkok, Thailand.

img btn
img btn
img btn